"ไหมกาบบัว"
...ภูมิปัญญาแห่งเมืองอุบลฯ...
![]()
...ผ้าลายกาบบัว..
...เป็นผ้าที่ถูกกล่าวถึงในวรรณคดีอิสานหลายเรื่อง รวมทั้งผ้ากาบบัวนี้เป็นเครื่องชี้ความมีเอกลักษณ์และความเป็นอารายะชนชาวอุบลมานานนับร้อยๆปี...
...คำและความหมายนี้เหมาะสม สอดคล้องกับชื่อของจังหวัด..เมื่อไม่พบและไม่มีการผลิต จึงทำการทำขึ้นใหม่ และนำชื่อนี้มาเป็นผ้าเอกลักษณ์ของอุบลฯ โดยประกาศให้ใช้เป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เมื่อ 25 เม.ษ.2543....
![]() ![]()
ไหมกาบบัวยกดอกสีครีม(พื้นสีฟ้า) ไหมกาบบัว ยกดอกหมี่(ประยุกต์เขียว)
![]() ![]()
ไหมกาบบัวประยุกต์ อ.เขื่องใน ไหมกาบบัวประยุกต์(น้ำตาล ทอง ส้ม)
![]() ![]()
...ผ้ากาบบัว ในหน้าประวัติศาสตร์...
...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ..พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพประสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ได้นำผ้าทอพื้นเมืองอุบลฯ ทูลถวาย..ซึ่งปรากฏในพระราชหัตถเลขาตอบเมื่อ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ร.ศ.114 ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ความว่า...
."..ถึง สรรพสิทธิ ด้วยได้รับหนังสือลงวันที่ 13 มกราคม ส่งผ้าเยียรบับลาว นั้นได้รับแล้ว ผ้านี้ทอดีมากเชียงใหม่สู้ไม่ได้เลย ถ้าจะยุให้ทำมาขายคงจะมีผู้ซื้อ ฉันจะรับเป็นนายหน้า ส่วนที่ส่งมาจะให้ตัดเสื้อ ถ้ามีเวลาจะถ่ายรูปให้ดู แต่อย่าตั้งใจคอย เพราะจะถ่ายเมื่อใดบอกไม่ได้
จุฬาลงกรณ์ ปร. "....
![]()
...จากการค้นคว้าถึงตำนาน ผ้าเยียรบับ นี้พบว่าเป็นผ้าลายกาบบัวคำ ทอด้วยเทคนิคขิดหรือยกด้วยไหมคำ(ดิ้นทอง) แทรกด้วยไหมมัดหมี่ ใช้เทคนิคการจกหรือเกาะด้วยไหมสีต่างๆ ลงบนผืนผ้า...
![]()
...เวลาอีก 55 ปีต่อมาจากนั้น เมื่อ 28เม.ษ.2493 ชาวอุบลฯได้ร่วมใจกันทอ "ผ้าไหมซิ่นเงิน ยกลายดอกพิกุล" ทูลถวาย เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ หม่อมราชวงค์สิริกิติ์ กิติยากร ถัดจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา ในวโรกาสเสด็จเยือนพสกนิกรชาวอุบลราชธานี เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2498 สมเด็จพระนาจเจ้าสิริกิติ์ ได้ฉลองพระองค์ด้วยไหมซิ่นเงิน ที่ชาวอุบลฯทูลเกล้าถวาย.และมีรับพระกระแสรับสั่งแก่ผู้เฝ้ารับเสด็จว่า "ชาวอุบลฯ เขาให้ผ้าซิ่นผืนนี้ เป็นของขวัญวันอภิเษกสมรส เมื่อมาเยี่ยมอุบลฯ จึงนำมานุ่งให้คนอุบลฯเขาดู"...ยังความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นของชาวอุบลราชธานีทั้งมวล...
...ลักษณะของผ้ากาบบัว... ผ้ากาบบัวอาจจะทอด้วยไหมหรือฝ้าย โดยมีเส้นยืน(Warh)ย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้ว ตามลักษณะ "ซิ่นทิว" ซึ่งนิยมกันแพร่หลายในแถบเมืองอุบลฯตั้งแต่ในอตีด เส้นพุ่ง(Weft) จะเป็นไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก)มัดหมี่และขิด.
![]() ![]()
....ผ้ากาบบัว เน้นการย้อมสีจากพืชพรรณ หรือทำนองสีธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทอและใช้งานอย่างแพร่หลาย..อีกทั้งลดข้อจำกัดเรื่องราคาให้แก่ผู่ใช้ผ้ากาบัวในลักษณะ และโอกาสต่างๆ
...ผ้ากาบบัวทิว(เครือทิว)อาจจะใช้ฝ้ายหรือไหมเป็นเส้นยืน(เครือทิว)แล้วพุ่งด้วย ฝ้าย หรือไหม หรือมัดหมี่ฝ้าย,ไหม หรือขิด ฝ้าย,ไหม....ใช้ในโอกาสต่างๆทั่วไป...
![]()
" ผ้ากาบบัวพื้นทิว"
...ผ้ากาบบัวจก เป็นผ้ากาบบัวเพิ่มการจกลาย เป็นลวดลายกระจุกดาว(เกาะลายดาว)อาจ จกเป็นบางส่วนหรือ จกทั่วทั้งผืน เพื่อสืบทอด "ซิ่นหัวจกดาว" อันเป็นเอกลักษณะเฉพาะผ้าซิ่นเมืองอุบลฯ ผ้าชนิดนี้ใช้ในโอกาสพิธีงานสำคัญ..
![]() ![]()
...ผ้ากาบบัว(คำ)คือผ้าทอยก(บางครั้งเรียก ขิด)ด้วยไหมคำ(ดิ้นทอง)อาจแทรกด้วยไหมเงินหรือไหมสีต่างๆ เป็นผ้าที่ต้องใช้ความปราณีตในการทออย่างสูง..ใช้ในโอกาสพิเศษ
![]() ![]()
...ลักษณะสีของผ้ากาบบัว...
...สีสัน ของผ้ากาบบัว กำหหนดจากดอกบัวพันธ์ต่างๆที่มีสีเฉพาะตัวตามสายพันธ์..เช่น สีบานเบ็นอมม่วง ได้จาก สีของบัวสาย...สีชมภูอมม่วง ได้จาก สีของบัวหลวง...สีขาวอมเขียว ได้จาก สีของบัวสัตตบงกต...สีฟ้าอมน้ำทะเลและสีส้มอมแดงอ่อน ได้จาก สีของบัวฝรั่ง...
.....ผ้ากาบบัว ทำไมไม่เรียก ผ้ากลีบบัว...
มีข้อสนันสนุนยืนได้ ดังต่อไปนี้..คือ..กาบบัวมีพื้นผิวเป็นเส้นทางตั้งขึ้นเด่นชัด สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ดี...กาบบัวมีสีตามธรรมชาติชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับการย้อมสีจากพืชพรรณธรรมชาติ...ในขณะที่ กลีบบัวทั้งลวดลายและสีจะไม่เด่นชัดเท่ากับ กาบบัว...และการใช้ชื่อ ผ้ากาบบัว เป็นการใช้ชื่อตามชื่อผ้า ที่มีมาแต่โบราณ นอกจากเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความหมายถึงเชื้อสายบรรพบุรุษที่สืบเนื่องมาจาก"นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" อีกด้วย.....
...ผลิตภัณฑ์ จากผ้ากาบบัว...
ผ้ากาบบัว นอกจากนิยมนำมาตัดเป็นชุดต่างๆแล้ว ยังมีการนำผ้ากาบบัวมาทำเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆได้อีกด้วยค่ะ.
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
...ปิดท้ายด้วยแฟชั่นผ้าไหมกันค่ะ..
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
******************************************
...ก่อนจะไปชม "ซิ่นตีนจก"สวยๆ ...มาฟังเพลงกันก่อนนะค่ะ...
*******************************************
***** บรรเลง พิณ ลาย "ลมพัดพร้าว" ****
..ลองฟังนะค่ะ..คนเป่าแคนสนุกมาก..นึกภาพ..
..เป่าแคนไป..โยกตัว โยกเอวไป...
...มาเด้อ มาม่วนนำกัน...
...เด้อนางเด่อ..เด้อ เด้อ นางเด่อ..
...ตึง ตึง ตึง ตึง....ฮิ้ววว...
**********************
![]() ![]() ![]() ![]()
*******จบ*****แล้ว******จ้า*********
**- เป็นอย่างไรบ้างค่ะ..ผ้ากาบบัว.เอกลักษณ์ผ้าไหมแห่งเมืองดอกบัว..
-Entryต่อไป สาวอิสานคนนี้ จะพาไปท่องเที่ยวใน อวกาศ ค่ะ..
ลุงบิล(Bill McArthur)ตอบตกลงแล้วค่ะ..เราจะไปด้วยกัน..
****************
*แหล่งข้อมูลที่มา...
ภาพจาก..อินเตอร์เน็ท..
เนื้อหา...
http://gotoknow.org/blog/thaisilk/116922 http://www.eng.ubu.ac.th/~gis/picture/Ubon/Ubon_TL.JPG http://www.tatubon.org/tatubon/view.php?t=27&s_id=4&d_id=4 http://www.thaitambon.com/ProvincialStarOTOP/PSO-LP12/Ubonratchathani-PSO2L.htm http://www.lib.ubu.ac.th/html/ub_info/home.htm | |||||||
โดย พราวนภา |
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ไหมกาบบัวภูมิปัญญาอุบล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น